north east india the paradise unexplored

Posted on
virgovirgin art of travel,virgovirgin,travel designer,nort east india,incredible india,himalaya,finest travel designer
virgovirgin,virgovirgin art of travel,finest travel designer,incredble india,exotic destination

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
ประตูสู่ดินแดนตะวันออกสวรรค์ที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ

เส้นทางสู่อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง แปดรัฐ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ทว่าทุกเส้นทางเปี่ยมล้นไปด้วยประสบการณ์ใหม่ๆ ที่น่าจดจำ แม้ว่าการแบ่งแยกเขตแดนในปี ค.ศ.1947 ส่งผลให้รัฐต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแยกตัวออกจากอินเดียแต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในดินแดนแห่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากข้อได้เปรียบทางด้านที่ตั้งภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช มรดกอันล้ำค่าแห่งประเพณี และวิธีชีวิตโบราณงานเทศกาลและงานผฝีมือทำให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว จากทั่วโลกมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์รอให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปค้นพบ

การผจญภัยสู่ดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียรวมทั้งรัฐสิกขิมที่อยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยตะวันออกและเปิดให้เข้าเพียงบางส่วน เป็นสิ่งท้าทายและเป็นการผจญภัยแสนโรแมนติกถือเป็นรูปแบบการเดินทาง และการผจญภัยที่ดีที่สุด รัฐต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียเชื่อมต่อกันดั่งใยแมงมุมด้วยเส้นไหมสีไข่มุก ประกอบไปด้วย รัฐอรุณาจัลประเทศ รัฐอัสสัม รัฐมณีปุระ รัฐเมฆาลัย รัฐมิโซรัม
รัฐนาคาแลนด์ รัฐสิขิม และรัฐตรีปุระ สร้างความเพลินพลินที่หาได้ยากให้กับนักท่องเที่ยวด้วย งานเทศกาลละลานตาที่จะดึงดูดท่านเข้าไปสู่ความงดงามดั่งเวทย์มนต์และความหลากหลาย อันน่าทื่งความงามทางธรรมชาติอันบริสุทธิ์กล้วยไม้ และผีเสื้อพันธุ์หายากวัดวาอารามสีสันหลากหลายงดงาม แม่น้ำที่ท่าทายเหล่านักผจญภัย ผ้าคลุมไหล่ของชนเผ่าทอมืออย่างปราณีตกีฬาพื้นเมืองซี่งแต่ละสิ่งที่กล่าวมานั้นมีล้กษณะพิเศษของตัวเอง ที่จะถ่ายทอดให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนได้สัมผัส ขณะที่เดินทางจากรัฐหนี่งไปอีกรัฐหนึ่ง

virgovirgin,virgovirgin art of travel,nort east india,incredle india,finest travel designer,exotic destination

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียมีพื้นที่ รวมทั้งหมด 265000 ตารางกิโลเมตร ระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตของคนในภูมิภาคนื้ขึ้นอยู่กับแม่น้ำสายหลักของภูมิภาค อันได้แก่แม่น้ำพรหมบุตร และแม่น้ำบาราค แนวภูเขาโบราณป่าดงดิบรกชัฎ และหน้าฝนที่มีอยู่อย่างต่อเนือง ผู้คนในพื้นที่แห่งนี้ ส่วนใหญ่ เป็นชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ทว่าดินแดนแห่งนี้ไม่ได้ ห่างไกลความเจริญมากนัก

เป็นเวลานานหลายศตวรรษที่ช่องทาง และหุบเขาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำหน้าที่เสมือนชุมทางของคนเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนรวมถึงเพื่อการแลกเปลี่ยนทางการค้าและวัฒนธรรม ชึ่งเชื่อมอินเดียโดยทางบกกับเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การเป็นพรมแดนทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นจุดเปลี่ยน ถ่ายอันสลับซับซ้อนของเชื้อชาติ ศาสนาแบะภาษากลุ่มต่างๆ ดินแดนแห่ง นี้ยังเป็นพรมแดนทางชีวภูมิศาสตร์ ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นจุดศูนย์รวมของชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แก่อินดี้ ซีนิค มาลายา พม่า รวมท้้งเป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์สัตย์ พ้นธุ์พืช และสัตว์ปีกนานาชนิดอีกด้วย

♦♦♦♦♦♦

” freedom has been here waiting for you all along
to feels good to be lost in the right direction”